เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

21
อินทรีย์1 5
1. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์คือตา)
2. โสตินทรีย์ (อินทรีย์คือหู)
3. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์คือจมูก)
4. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์คือลิ้น)
5. กายินทรีย์ (อินทรีย์คือกาย)

22
อินทรีย์2 5 อีกนัยหนึ่ง

1. สุขินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขกาย)
2. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์กาย)
3. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความสุขใจ)
4. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์คือความทุกข์ใจ)
5. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์คืออุเบกขา)

23
อินทรีย์3 5 อีกนัยหนึ่ง

1. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์คือศรัทธา)
2. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์คือวิริยะ)
3. สตินทรีย์ (อินทรีย์คือสติ)
4. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์คือสมาธิ)
5. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์คือปัญญา)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/1012/660
2 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/220/199-200
3 ดูเทียบ อภิ.วิ. (แปล) 35/220/200-201

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :310 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 5

24
[321] ธาตุ1ที่สลัด2 5
1. เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการกามทั้งหลาย3 จิตของเธอ
ย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในกามทั้งหลาย แต่
เมื่อเธอมนสิการเนกขัมมะ จิตของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่
น้อมไปในเนกขัมมะ จิตนั้นของเธอชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว
อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว พรากออกดีแล้วจากกาม
ทั้งหลาย เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ4และความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้น5 ซึ่งเกิดขึ้นเพราะกามเป็นปัจจัย เธอย่อมไม่เสวยเวทนานั้น
นี้พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่าธาตุที่สลัดกามทั้งหลาย
2. เมื่อภิกษุมนสิการพยาบาท จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส
ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในพยาบาท แต่เมื่อเธอมนสิการอพยาบาท จิต
ของเธอจึงแล่นไป เลื่อมใส ตั้งอยู่ น้อมไปในอพยาบาท จิตนั้นของเธอ
ชื่อว่าเป็นจิตดำเนินไปดีแล้ว อบรมดีแล้ว ตั้งอยู่ดีแล้ว หลุดพ้นดีแล้ว
พรากออกดีแล้วจากพยาบาท เธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะและความ
เร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ซึ่งเกิดขึ้นเพราะพยาบาทเป็นปัจจัย เธอ

เชิงอรรถ :
1 ธาตุในที่นี้หมายถึงธัมมธาตุและมโนวิญญาณธาตุขั้นพิเศษ เป็นสภาวะที่ว่างจากอัตตา (อัตตสุญญสภาวะ)
(องฺ.ปญฺจก.อ. 3/200/82) หรือสภาวะที่ปราศจากชีวะ (องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/200/91)
2 ดูเทียบ องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/200/340-342
3 มนสิการกามทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงวิธีการที่ท่านผู้ออกจากอสุภฌาน (เพ่งความไม่งาม) แล้วส่งจิตคิด
ถึงกามคุณ เพื่อตรวจดูจิตว่า ‘บัดนี้จิตเราแน่วแน่ต่อเนกขัมมะหรือไม่ กามวิตกยังเกิดขึ้นอยู่หรือไม่’ เหมือน
คนจับงูพิษ เพื่อทดลองดูว่างูมีพิษหรือไม่ (ที.ปา.อ. 321/230, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/200/91)
4 อาสวะ ในที่นี้หมายถึงอาสวะ 4 คือ กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) ทิฏฐาสวะ
(อาสวะคือทิฏฐิ) อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา) (สํ.สฬา.อ. 3/53-62/14, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/58/140)
5 ความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น ในที่นี้หมายถึงความเร่าร้อนเพราะกิเลสหรือความเร่าร้อนเพราะวิบาก
กรรมที่ก่อความคับแค้นให้ หรือให้เกิดทุกข์ทางกายและทุกข์ทางใจ อันเป็นผลมาจากอาสวะ (องฺ.ฉกฺก.อ.
3/58/140, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/58/154)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :311 }